นับตั้งแต่ได้ไปสักการะบูชา "องค์พระพิฆเนศปางดั๊กดูเศรษฐ์" เมืองปูเน่  ประเทศอินเดีย อายุนานกว่าร้อยปี  ที่ได้ชื่อว่าเป็น "องค์พระพิฆเนศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก"  ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของผู้คนทั่วโลกทั้งในและต่างประเทศ  และได้รับคำร่ำลือว่า "ผู้ที่ได้มาสักการะ  จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน  มีโชคลาภ  และร่ำรวยกันอย่างน่าอัศจรรย์"
 
     ด้วยจิตศรัทธาอย่างแรงกล้า  อาจารย์เบสท์ ทินกร เจรปรีดี   และด้วยการสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วประทศ  จึงตั้งจิตอธิษฐานร่วมกันสร้าง "องค์จำลองขององค์พระพิฆเนศปางดั๊กดูเศรษฐ์" หรือที่คนไทยเรียกกันว่า "พระพิฆเนศปางมหาเศรษฐี" เป็นเทวรูปจำลองจากองค์ต้น  มีขนาดสูงถึง 1.99 เมตร  แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ "พิฆเนศวรเทวาลัย เชียงใหม่" ถ.บำรุงบุรี ติดหน้าคูเมืองเขตเมืองเก่าของจังหวัดเชียงใหม่  เพื่อให้ผู้ศรัทธาทั้งคนไทยและต่างประเทศได้เข้าสักการะกันได้ฟรี  โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายใดๆ  ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป
 
มวลสารศักดิ์สิทธิ์จากดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในอินเดีย 10 แห่ง  ...หล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียว
     ในการจัดสร้าง "องค์พระพิฆเนศปางมหาเศรษฐี" ครั้งนี้  เพื่อความถูกต้องตามหลักศาสนาและเป็นการเคารพต่อองค์ปฐมพระพิฆเนศ  อาจารย์เบสท์ ทินกร เจรจาปรีดี  ได้ยาตรา(เิดินทางแสวงบุญ)ด้วยตัวเองไปยังประเทศอินเดีย  เพื่อรวบรวมธุลีดินและมวลสารศักดิ์สิทธิ์มาจากเทวสถานพระพิฆเนศและอัฏษนายักสวยัมภูมูรติที่สำคัญถึง 10 แห่ง  มาร่วมหล่อหลอมสร้างเป็นระพิฆเนศปางมหาเศรษฐีองค์ประธานด้วยในครั้งนี้อีกด้วย
 
 
  • เทวสถานพระพิฆเนศดั๊กดูเศรษฐ์ฮาลไวคณาิปิติ เมืองปูเน่:  เทวสถานสำคัญ  อันเป็นที่ประดิษฐานขององค์ต้นแบบปางดั๊กดูเศรษฐ์
     
  • เทวสถานสิทธิวินายัก เมืองมุมไบ: พระพิฆเนศปางสิทธิวินายัก ได้รับการนับกือว่าเป็นองค์ประธานหรือองค์ปฐมแห่งองค์พระพิฆเนศทั่วโลก ผู้ใดที่ได้เข้ามาสักการะ จะได้รับความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ
     
  • เทวสถานศรีบัลลาเลศวร เมืองปาลี: เป็นเทวสถานที่พระพิฆเนศมอบให้เด็กน้อยบัลลาผู้ที่ศรัทธาในพระพิฆเนศอย่างมั่นคง ผู้ใดที่สักการะพระพิฆเนศด้วยความศรัทธา จะได้รับพรให้สมปรารถนาทุกประการ
     
  • เทวสถานศรีคีรีจัตมา เมืองเลนยาตรี: เป็นถ้ำที่พระแม่ปราวดีให้กำเนิดพระพิฆเนศโดยปั้นองค์จากดินเหนียว ผู้ที่มาสักการะที่นี่มักมาเพื่อขอให้มีบุตรง่าย
     
  • เทวสถานศรีมยุเรศวร เมืองโมเรกาวน์: เป็นที่พระพิฆเนศทรงนกยูงมาปราบอสูรสินธุจนเลือดสีแดงของอสูรสาดไปทั่วสวรรค์ บังเกิดเป็นผงสีแดงที่ใช้บูชาเทพเจ้าที่เรียกว่า “ผงสินธุ” ผู้ที่มาสักการะ ณ สถานที่แห่งนี้ จะได้รับพรให้พ้นจากอุปสรรคและอันตรายใดๆ
     
  • เทวสถานศรีจินดามณี เมืองเทอร์: เป็นที่พระพิฆเนศเสด็จมาแย่งแก้วสารพัดนึก(จินดามาณี)จากคณราช โอรสของกษัตริย์อภิจิต คืนให้กับฤาษีกปิละ ผู้ไดที่มาสักการะที่นี่จะสมหวังดุจอธิษฐานต่อแก้วสารพัดนึก
     
  • เทวสถานศรีสิทธิวินายัก เมืองสิทฌาเทก: เป็นเทวสถานที่พระวิษณุสร้างถวายพระพิฆเนศหลังจากปราบอสูรร้าย ผู้ที่ได้มาสักการะที่นี่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานทุกประการ
     
  • เทวสถานศรีมหาคณปติ เมืองรันชันกาวน์: เป็นสถานที่ที่พระศิวะสวดมนต์บูชาต่อพระพิฆเนศก่อนปราบอสูรตรีปุระ ผู้ที่ได้มาสักการะจะได้รับความสำเร็จสมปรารถนา
     
  • เทวสภานศรีวิฆเนศวร เมืองโอซาร์: เป็นที่พระพิฆเนศที่อวตารมาเป็นบุตรของฤาษีปารชวัสเพื่อปราบอสูร ผู้ใดที่สวดมนต์บูชาพระพิเนศก่อนทำการใดๆ จะไปสบความสำเร็จและเอาชนะเหนืออุปสรรคทั้งปวงเทวสถานศรีวรัทธินายัก เมืองมาฮัท: พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งป่าปุษปัก ที่ผู้ไดเข้ามาสักการะพระพิฆเนศและอาบน้ำในป่าแห่งนี้ ผู้ที่มาสักการะจะหายจากโรคภัยไข้เจ๊บทั้งปวง
     
 
 
ความเป็นมาขององค์ดั๊กดูเศรษฐ์  เมืองปูเน่  ประเทศอินเดีย
 
 
     มีทำนักทำขนมคนหนึ่งชื่อ "ดั๊กดูเศรษฐ์ ฮาลไว" เกิดอยู่ในรัฐกรณาฏกะแล้วย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองปูเน่  ประเทศอินเดีย   ได้เปิดร้านขายขนมเสียงโด่งดังและกลายเป็นคนร่ำรวยในเวลาไม่นาน   แต่ต่อมาไม่นานก็ต้องเสียบุตรชายอันเป็นที่รักไปเพราะเหตุการณ์โรคติดต่อครั้งใหญ่   ครอบครัวจึงตกอยู่ในความเศร้าโศกอยู่นาน 
 
     ด้วยคำแนะนำจากพราหมณ์อาวุโสและแรงศรัทธาอย่างแรงกล้าในองค์พระพิฆเนศ  จึงได้อุทิศเงินสร้างเทวาลัยพระพิฆเนศเป็นอนุสรณ์แด่บุตรชายที่ล่วงลับ  จนสร้างเสร็จในปี 1893 และได้ตั้งชื่อว่า  “เทวาลัยพระพิฆเนศวร ดั๊กดูเศรษฐ์ ฮาลไว คณาปิติ” เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระพิฆเนศหล่อจากทองคำ ขนาดความสูง 7.5 ฟุต  มีพระนามว่า “องค์พระพิฆเนศ ดั๊กดูเศรษฐ์”  ประดับด้วยเครื่องทรงที่ทำจากทองคำแท้และเพชรนิลจินดาที่ประเมิณค่ามิได้  ซึ่งปัจจุบันต้องประกันไว้ด้วยเงินประกันถึง 10ล้านรูปี  หนึ่งในสามขององค์พระพิฆเนศที่มีชื่อเสียงที่สุดของอินเดีย 
 
 
 
New Page 1
 
   
     Facebook
     Instagram
     Youtube
     Or Click
     
     
 

Copyright 2016-2017, Pikanesuan.com.  All rights reserved.